สินค้า OTOP

 

 

ผ้าไหมยกทองสุรินทร์

Otop5_20051127164712.1

 

 

ผ้าไหมยกทอง เป็นการทอผ้าไหมที่ใช้ลักษณะการทอยกให้ลวดลายสูงกว่าพื้นผ้าด้วยเส้นพุ่ง ซึ่งมีลักษณะการทอเหมือนกับผ้าจกโดยทั่วไป แต่การทอผ้ายกทองจะต้องใช้ความปราณีตอย่างสูงกว่า ซึ่งถือเป็นผ้าที่หาซื้อได้ยาก และราคาแพง นิยมใส่ในกลุ่มชนชั้นสูง และในวังหลวง สำหรับลวดลายของผ้ายกทองมักใช้ลวดลายที่ปรากฏอยู่ในศิลปกรรมไทยแขนงต่างๆ และบางลวดลายมีใช้เฉพาะในพระราชพิธีสำคัญในพระราชวังเท่านั้น สำหรับลายผ้ามักประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
1. ส่วนเชิงผ้า คือ ส่วนที่อยู่ตรงขอบผ้ามักจะใช้ลวดลายที่แตกต่างไปจากลายของท้องผ้าในลักษณะที่ช่วยเสริมลายของท้องผ่าให้ดูเด่นขึ้น
2. ส่วนท้องผ้า คือ ส่วนที่อยู่ตรงกลางของผ้าถัดจากขอบผ้า มักเป็นลายซ้ำซ้อนกันตลอดทั้งท้องผ้า

การจัดวางองค์ประกอบของลวดลายผ้ายก
1.  การจัดลายผ้าแบบมีกรอบมีเชิง  ประกอบด้วยส่วนท้องผ้า  สังเวียน  และกรวยเชิง  ผ้ายกกลุ่มนี้พบหลายขนาด  แตกต่างกันตามหน้าที่ใช้สอย  ได้แก่  ใช้เป็นผ้านุ่ง  หรือใช้เป็นผ้าคาดเอวบุรุษ
2.  การจัดลายผ้าแบบมีเชิงไม่มีกรอบ  ประกอบด้วยส่วนท้องผ้า และกรวยเชิง  ส่วนใหญ่ใช้เป็นผ้านุ่ง
3.  การจัดลายผ้าแบบมีกรอบไม่มีเชิง   ประกอบด้วยส่วนท้องผ้าโดยมีสังเวียนล้อมท้องผ้าทั้ง 4  ดาน   ส่วนใหญ่ใช้เป็นผ้าสำหรับปูลาด ไมนิยมนำมานุ่ง  การจดองค์ประกอบเช่นนี้ อาจได้รูปแบบมาจากพรม
4.  การจัดลายผ้าแบบไมมีกรอบไม่มีเชิง  แบ่งออกเปน
– ลายผ้าที่สั่งทอเป็นพับสำหรับตัดเสื้อ  กางเกงหรือกระโปรง  ตลอดจนใช้ตัดเย็บเป็นสิ่งของเครื่องใช้ตางๆ
– ลายผ้าที่ทอเป็นผืน แตกต่างกันตามหน้าที่ใช้สอย ไดแก่ ผ้านุ่งขนาด กว้าง 90 เซนติเมตร ยาว 1 เมตร  ผาหม กวาง 70 เซนติเมตร ยาว 1.85 เมตร เปนตน

สำหรับลวดลายที่ใช้ ได้แก่

ลายสัตว์หิมพานต์

ลายสัตว์หิมพานต์

ลายดอกพุดตาน เป็นลายโบราณสมัยอยุธยาตอนปลาย ซึ่งหมายถึงความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ

 ลายดอกพุดตาน

ลายดอกพุดตาน

ลายดอกพุดวงกลม ยกด้วยลายสัตว์หิมพานต์ เป็นการผสมระหว่างลายดอกพุดวงกลมกับลายสัตว์หิมพานต์ อาทิ

 ลายดอกพุดผสมลายสัตว์

ลายดอกพุดวงกลม ยกด้วยลายช้าง

ขั้นตอนการทอผ้ายกทอง

1. การค้นเส้นยืน เป็นการเตรียม เส้นยืน ด้วยการนำเส้นไหมที่ผ่านการลอกกาว และย้อมสีแล้วมาจัดเรียงด้วยการกรอด้วยกง และอัก และนำมาค้นเส้นยืนด้วยหลักเฝือเพื่อให้ได้เส้นยืนที่มีการจัดอย่างเป็น ระเบียบ และได้ความยาวตามต้องการก่อนนำเข้าฟืมต่อไป
2. การเตรียมฟืมทอผ้า เป็นการนำเส้นยืนจัดเข้าฟันหวีของฟืม โดยแต่ละช่องจะมีเส้นไหมไม่เกิน 2 เส้นเท่านั้น เพื่อให้เกิดความละเอียดของเนื้องานมากที่สุด
3. การเตรียมเส้นพุ่ง เส้นพุ่งที่ใช้ เป็นเส้นไหมที่ผ่านการลอกกาว และย้อมสีแล้ว ซึ่งในกรณีการทอผ้ายกทองจะใช้เส้นพุ่งที่ย้อมด้วยสีทองเป็นสำคัญ
4. การทอลวดลาย การทอผ้ายกทองก็เหมือนกับการทอผ้าจกหรือผ้าแพรวา แต่จะให้ความปราณีมากกว่า ใช้ระยะเวลาในการทอนานกว่า 1 ถึง 2 เดือน

หมู่บ้านทอผ้าไหมยกทอง จันทร์โสมา สุรินทร์

Mueang-Surin-chansoma-village1Mueang-Surin-chansoma-village4

                หมู่บ้านทอผ้าไหมยกทอง จันทร์โสมา ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมืองสุรินทร์ บ้านท่าสว่าง หมู่บ้านที่ได้รับการยกย่องว่า”ทอผ้าไหมหนึ่งพันสี่ร้อยสิบหกตะกอ” เมื่อครั้งทอผ้ายกทองทูลเกล้าฯถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ จากการริเริ่มผลงานศิลปหัตกรรมของกลุ่มทอผ้ายกทอง”จันทร์โสมา” ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีการอนุรักษ์และฟื้นฟูการทอผ้ายกทองชั้นสูงแบบราชสำนักไทย โบราณ โดยมี อาจารย์วีรธรรม ตระกูลเงินไทย เป็นแกนนำและเป็นผู้รวบรวมชาวบ้านท่าสว่างมารวมกลุ่มกันทำงานทอผ้ายามว่าง จากงานไร่งานนาด้วยการออกแบบลวดลายที่สลับซับซ้อนงดงามและ ศักดิ์สิทธิ์ผสมผสานกันระหว่างลวดลายการทอแบบราชสำนักกับเทคนิคการทอผ้าแบบ พื้นบ้าน จนกลายเป็นผ้าทอที่มีความงดงามอย่างมหัศจรรย์และมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่ว โลก ผลงานที่โดดเด่นของที่นี่คือการได้รับการคัด เลือกจากรัฐบาลให้ทอผ้าสำหรับตัดเสื้อผู้นำและผ้าคลุมไหล่สำหรับคู่สมรสผู้ นำ 21 เขตเศรษฐกิจที่มาร่วมประชุมผู้นำเอเปกเมื่อปลายปี 2546 จนเป็นที่รู้จักกันอย่างดีในชื่อ”หมู่บ้านทอผ้าเอเปก”และรางวัล OTOP ระดับ 5 ดาว ของประเทศความโดดเด่นของผ้าไหมยกทอง “จันทร์โสมา” เกิดจากการเลือกเส้นไหมน้อยที่เล็กและบางเบานำมาผ่านกรรมวิธีฟอก ต้มแล้วย้อมสีธรรมชาติด้วยแม่สีหลักสามสีคือสีแดงจากครั่ง สีเหลืองจากแก่นแกแลและสีครามจากเมล็ดคราม สอดแทรกการยกดอกด้วยไหมทองที่ทำจากเงินแท้มารีดเป็นเส้นเล็ก ๆ ปั่นควบกับเส้นด้าย ใช้ตะกอเส้นพุ่งพิเศษที่ทำให้เกิดลายจำนวนตะกอมากกว่าร้อยตะกอ จนกระทั่งการวางกี่บนพื้นดินธรรมดามีความสูงไม่พอ ต้องขุดดินบริเวณนั้นให้เป็นหลุมลึกไป 2-3 เมตร เพื่อรองรับความยาวของตะกอที่ห้อยลงมาจากกี่ให้เป็นระเบียบ ให้คนสามารถอยู่ในหลุมเพื่อสอดตะกอไม้ได้ด้วย เนื่องจากไม้ตะกอมีจำนวนมาก จึงต้องใช้คนทอถึง 4-5 คน คือจะมีคนช่วยยกตะกอ 2-3 คน คนสอดไม้ 1 คนและคนทออีก 1 คน และความซับซ้อนทางด้านเทคนิคการทอ จะได้ผลงานเพียงวันละ 6-7 เซนติเมตรเท่านั้น

Leave a comment